How to เลือกหูฟังอย่างไรให้เหมาะกับการออกกำลังกาย

เอาใจสายออกกำลังกาย เพื่อน ๆ เคยเป็นหรือไม่เวลาออกกำลังกายต้องมีหูฟังเพื่อฟังเสียงหรือฟังสิ่งต่าง ๆ ขณะออกกำลังกาย หูฟังจึงกลายเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการออกกำลังกาย การได้ฟังเพลงหรือฟังเสียงต่าง ๆ ไปด้วยจะช่วยให้เราโฟกัสกับความเหนื่อยน้อยลง เผลออีกทีก็ครบเวลาที่กำหนด

ปัจจุบันมีหูฟังให้เลือกหลากหลายชนิดขึ้นอยู่การความชอบและไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน สำหรับเพื่อน ๆ ที่กำลังมองหาหูฟังดี ๆ ไว้ใส่ออกกำลังกายแต่ไม่รู้จะเลือกหูฟังแบบไหนดี เรามีทริคในการเลือกหูฟังให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ความชอบของเพื่อน ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อหูฟังสักชิ้น


ชวนรู้จัก หูฟังมีกี่ประเภท?

ก่อนไปอ่านทริคสำหรับการเลือกหูฟังออกกำลังกาย เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักกับหูฟังกันก่อนว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกหูฟังออกกำลังกายในแบบที่ใช่สไตล์ที่ชอบ

หูฟังคาดศีรษะ (On-Ear Headphones) หรือหูฟังออนเอียร์ : มีลักษณะเป็นลำโพงขนาดเล็กที่ถูกห่อหุ้มด้วยโฟมที่มีความนุ่มสามารถสวมใส่แล้วสบายหูมาพร้อมที่คาดศีรษะช่วยยึดไม่ให้หล่น หูฟังประเภทนี้มีแม้ดูมีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบา สวมใส่สบาย คุณภาพเสียงดีช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี พกพาสะดวก มีให้เลือกทั้งแบบ ต่อโดยระบบบลูทูธหรือแบบมีสายต่อกับโทรศัพท์หรือเครื่องเล่นเสียง อย่างไรก็ตามหากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้รู้สึกปวดบริเวณหูและศีรษะได้

หูฟังครอบหู (Over-Ear Headphones) : หรือหูฟังประเภทฟูลไซซ์ มีความคล้ายคลึงกับหูฟังออนเอียร์แต่มีขนาดใหญ่กว่าสามารถปิดหูได้ทั้งใบ สวมใส่ได้นานไม่รู้สึกเจ็บหูเป็นหูฟังที่ได้รับความนิยมด้วยกระแส Y2K คุณภาพเสียงดี น้ำหนักเบาแต่มีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะกับการพกพาเหมาะสำหรับใช้งานหน้าโต๊ะคอมพิวเตอร์

หูฟังอินเอียร์ (In-Ear Earphones) : เป็นหูฟังที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับต้น ๆ ในปัจจุบัน มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาง่าย ราคาไม่แพงมีทั้งแบบไร้สายและมีสาย แต่เนื่องจากเป็นหูฟังที่สวมเข้าไปในรูหูโดยตรงจึงทำให้ตัดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีจนแทบไม่ได้ยินเสียงรบกวน ใส่ในช่วงแรกอาจรู้สึกปวดหูแต่เมื่อใส่ไปสักระยะอาการปวดจะเริ่มหายไป

หูฟังเอียร์บัด (Earbuds Wireless Headphones) : อีกหนึ่งไอเท็มที่มาแรงสุดๆ สวมใส่ง่าย พกพาสะดวก น้ำหนักเบาไม่มีสายเกะกะ สามารถเชื่อมต่อสัญญาณต่อระบบบูลทูธและชาร์จง่ายๆ เพียงเก็บเข้ากล่อง มีให้เลือกใช้งานทั้งระบบ Android และ IOS เหมาะสำหรับสวมใส่ขณะออกกำลังกายสุด ๆ แต่อาจต้องระวังแบตเตอรี่หมดระหว่างใช้งานแต่โดยทั่วไปในการชาร์จ 1 ครั้งก็สามารถใช้งานต่อเนื่องยาวนานมากถึง 2-4 ชั่วโมงเลยทีเดียว


แจกทริคเลือกหูฟังออกกำลังกายแบบไหนให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ฟังสบายหู

แจกทริคเลือกหูฟังออกกำลังกายแบบไหนให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ฟังสบายหู

รู้จักหูฟังแต่ละประเภทกันแล้ว สายออกกำลังกายไม่ควรพลาดกับทริคดี ๆ ในการเลือกหูฟังไว้สวมใส่ขณะออกกำลังกาย เลือกแบบไหนให้เหมาะกับการออกกำลังกายและไลฟ์สไตล์ที่ชอบ เรามีทริคดีดี ๆ ในการเลือกหูฟังมาฝากดังนี้

เน้นความกระชับและคล่องตัวของหูฟังออกกําลังกาย : แน่นอนว่าการออกกำลังกายอาจต่อใช้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายทั้งกระโดด วิ่ง หรือการเคลื่อนไหวร่างกายกายอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการเลือกหูฟังสำหรับการออกกำลังกายควรเป็นหูฟังที่ไม่เกะกะหรือมีขนาดและน้ำหนักใหญ่มากจนเกินไปเพราะอาจเป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกาย อาจเลือกเป็นหูฟังไร้สายประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

ประสิทธิภาพในการกันน้ำ : เป็นคุณสมบัติที่ควรมีแม้เราไม่ได้ใส่หูฟังออกกำลังกายเพื่อว่ายน้ำหรือลงน้ำ แต่ขณะออกกำลังกายอาจมีเหงื่อปริมาณมาก ดังนั้นหูฟังที่เลือกใช้ควรเป็นหูฟังที่มีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำและเหงื่อได้

เลือกหูฟังที่สวมใส่นาน ๆ : ควรเป็นหูฟังที่สามารถสวมใส่ต่อเนื่องเป็นเวลานานแล้วไม่ปวดหู อีกทั้งควรมีน้ำหนักเบาเพื่อความคล่องตัวและสะดวกต่อการออกกำลัง

เลือกหูฟังที่มี Active Noise Control : บางครั้งในขณะออกกำลังกายเราอาจต้องใช้สมาธิเพื่อจดจ่อกับการฝึกซ้อมหรือออกกำลังกายดังนั้นควรเลือกหูฟังที่สามารถตัดเสียงรบกวนจากภายนอกนอกได้ เพื่อเพิ่มสมาธิและประสิทธิภาพในการออกกำลังกายและเพื่อเพิ่มอารมณ์ในการฟังเพลง แต่อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างการออกกำลังกาย

เลือกหูฟังที่มีคุณภาพเสียงดี : คุณภาพเสียงของหูฟังแต่ละแบบอาจขึ้นอยู่กับความชอบและสไตล์ของเสียง อาจเลือกหูฟังที่สามารถปรับฟังก์ชันหรือแต่งรูปแบบของเสียงได้ตามต้องการเพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับฟังขณะออกกำลังกายมากขึ้น

เลือกหูฟังที่มีฟังก์ชันสั่งการผ่านการสัมผัสหรือแตะที่ตัวหูฟังได้ : เพื่อความสะดวกสบายในการควบคุมไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเพลง เพิ่มระดับเสียง หรือรับโทรศัพท์ขณะมีสายเรียกเข้า เป็นต้น

หูฟังออกกําลังกายกับการสวมแว่น : เพื่อน ๆ คนไหนที่สวมใส่แว่นตาอาจเลือกหูฟังที่สามารถใส่ร่วมกับการใส่แว่นตาได้เพื่อไม่ให้หูฟังเป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกายอาจเลือกเป็นหูฟังไร้สายประเภทออนเอียร์หรือเอียร์บัด เป็นต้น

ราคาของหูฟังออกกําลังกาย : บางครั้งราคาอาจไม่ได้การันตีคุณภาพเสมอไป ของแพงคุณภาพอาจไม่ได้สัมพันธ์กับราคา ดังนั้นเลือกหูฟังในราคาที่เราสามารถจ่ายไหวแบบไม่เดือดร้อนและอาจพิจารณาคุณสมบัติอื่น ๆ ร่วมด้วยว่าตอบโจทย์ความต้องการของเราหรือไม่


เพื่อน ๆ ที่กำลังมองหาหูฟังออกกำลังกายดี ๆ สักชิ้นแต่ยังไม่รู้จะเลือกหูฟังแบบไหนดี หรือพิจารณาอย่างไรในการตัดสินใจเลือกซื้อ สามารถนำทริคดี ๆ สำหรับการเลือกหูฟังที่เรารวบรวมมาฝากประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกซื้อหูฟังได้เลย นอกจากเลือกตามความชอบและสไตล์ที่ใช่แล้วอย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยความสบาย และความสะดวกในการพกพาควรเลือกหูฟังที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกายน้ำหนักเบา พกพาสะดวก ชอบแบบไหนตัดสินใจได้แล้วไปซื้อหูฟังออกกำลังกายดีไว้ใส่ตอนออกกำลังกายเพื่อให้การออกกำลังกายของเราเป็นเรื่องสนุกมากขึ้น